วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สังเกตการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน : โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา



        1. ประวัติโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
- สถานที่ตั้ง
- ประวัติ
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เป็นโรงเรียนสหศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายแห่งแรกของประเทศไทย อยู่ในความดูแลของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ก่อตั้งเมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2480 โดยมติของสภาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มี ฯพณฯ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล เป็นผู้อำนวยการท่านแรก
- ผู้อำนวยการโรงเรียนคนปัจจุบัน
                นายวิศรุต สนธิชัย (พ..2551 - ปัจจุบัน)
- หลักสูตรที่เปิดสอน
โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสายสามัญ โดยแบ่งตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เน้นดังนี้
วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ แบ่งกลุ่มย่อยตามวิชาเลือกได้อีก 8 กลุ่มคือ
- การบริหารจัดการ
- วิทยาศาสตร์-คณิตศาสตร์ประยุกต์
- คุณภาพชีวิต
ภาษา-คณิตศาสตร์ เรียนเพิ่มวิชาบริหารจัดการและภาษาจีน
ภาษา-ภาษา เรียนเพิ่มวิชาคุณภาพชีวิต โดยแบ่งกลุ่มวิชาภาษาที่เลือกได้ 4 กลุ่มคือ
               - ภาษาสเปน

2. สื่อที่ใช้ประกอบการเรียนการสอน
                วันที่ข้าพเจ้าไปสังเกตการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนคือ วัน พุธ ที่ 1 สิงหาคม 2555 เวลา 8.20-9.30 . รายวิชาชีววิทยา นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 อาจารย์ผู้สอนคือ อาจารย์คฑา นุแรมรันย์ ซึ่งวันที่ไปสังเกตการณ์ใช้สื่อนั้น เรียนเรื่อง การจัดหมวดหมู่ของสิ่งมีชีวิต มีสื่อในการเรียนการสอนดังนี้
                1. วีดีโอ ที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เรียน ใช้ในการเกริ่นนำเข้าสู่บทเรียน (แต่! ข้าพเจ้าไม่ได้ดู สอบถามจากอาจารย์ผู้สอน)
                2. เอกสารประกอบการเรียน รายวิชา ว30241 อาจารย์ผู้สอนรายวิชานี้ช่วยกันจัดทำขึ้น รวบรวมเนื้อหามาจากหนังสือหลาย ๆ เล่ม มีรายละเอียดดังนี้
                    - แบบทดสอบก่อนเรียน
                    - เนื้อหาของแต่ละบท
                    - ใบกิจกรรม
                    - แบบทดสอบหลังเรียน
 
เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30241
                 ใช้เอกสารประกอบการเรียนรายวิชา ว30241 เล่มนี้ ควบคู่กับหนังสือเรียนชีววิทยา เล่ม 1 ของ สสวท.   
3. powerpoint อาจารย์ผู้สอนเล่าให้ฟังว่า นักเรียนโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา การเรียนแบบ Chlid Center (เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ) ใช้ไม่ได้ผล เพราะนักเรียนต้องการเป็นผู้รับเนื้อหา ความรู้จากอาจารย์ผูสอน เพื่อนำไปต่อยอดความรู้ที่นักเรียนสามารถศึกษาด้วยตนเอง การใช้กิจกรรมประกอบการเรียนการสอน จะไม่ค่อบประสบผลสำเร็จ นักเรียนไม่ค่อยชอบ เพราะเข้าใจว่า อาจารย์ไม่ได้สอนอะไรเลย

3. ประโยชน์
                Powerpoint
- ประหยัดเวลาในการสอน เพราะใน 1 powerpoint สามารถใส่เนื้อหาที่จะสอนลงไปได้หลายเรื่อง
- สามารถนำสื่อต่าง ๆ ที่น่าสนใจมาใช้ร่วมได้ เช่น รูปภาพ การใช้ภาพดาราหรือภาพที่อยู่รอบตัวเรา แต่ไม่เคยสนใจ นำมาประกอบใน powerpoint ทำให้นัเรียนสนใจมากยิ่งขึ้น วีดีโอ อนิเมชั่น เป็นต้น
- นักเรียนจดตามที่บรรยายได้ง่าย
                เอกสารประกอบรายวิชา ว30241
- นักเรียนสามารถทดสอบความรู้ตนเองได้ โดยการทำแบบทดสอบก่อนเรียน และทบทวนความรู้ตนอง โดยการทำใบกิจกรรม และทำแบบทดสอบหลังเรียน

4. ปัญหาและอุปสรรค
                การใช้สื่อเป็น Powerpoint
1. ปัญหาจากการทำ powerpoint เช่น ตัวอักษรมองไม่เห็น เป็นต้น
2. นักเรียนไม่มีส่วนร่วมในการเรียนการสอน
3. นักเรียนเบื่อ ทำให้เกิดอาการง่วง และนอนหลับ

5. ข้อเสนอแนะ
- ผู้สอนต้องศึกษาเทคนิคการทำ powerpoint มาเป็นอย่างดี ต้องมีสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของนักเรียน เช่น ภาพ สีของพื้นหลัง เป็นต้น
- ผู้สอนต้องมีเทคนิคในการสอนแบบบรรยาย เพื่อไม่ให้นักเรียนเกิดอาการเบื่อหน่าย เช่น การใช้คำถามกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด เป็นต้น
- สร้างบรรยากาศให้การเรียนแบบบรรยายดูน่าสนใจมากยิ่งขึ้น เช่น นำเรื่องเล่าที่เกี่ยวกับเนื้อหามาเล่าประกอบ เป็นต้น


                            ภาพบรรยายกาศในการสังเกตการใช้สื่อรายวิชาชีววิทยา
 
อาจารย์กำลังสอน นักเรียนก็ตั้งใจฟัง

ผู้ร่วมสังเกตการใช้สื่อประกอบการเรียนการสอน


อาจารย์คฑา นุแรมรันย์

   ในการไปสังเกตการณ์ใช้สื่อประกอบการเรียนการสอนครั้งนี้ ต้องขอกราบขอบพระคุณ  อาจารย์ตฤษณา เขมะภาตะพันธ์ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนเรียนรู้วิทยาศาสตร์ อาจารย์ผู้ประสานงานกับอาจารย์รายวิชาชีววิทยา และอาจารย์คฑา นุแรมรันย์ อาจารย์ผู้สอนรายวิชาชีววิทยา ที่ให้เข้าไปร่วมสังเกตการณ์ใช้สื่อ และสุดท้ายอาจารย์ได้ฝากคำพูดดี ๆ ไว้ประโยคหนึ่งว่า

สื่อการเรียนรู้ที่ดีที่สุด
คือ สื่อจากประสบการณ์ในตัวผู้สอน
  

นวัตกรรมการศึกษา : การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม (Distance learning Television)


มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนครูในพื้นที่ชนบท โดยเฉพาะโรงเรียนที่อยู่ติดตามชายแดนมีครูสอนน้อยมาก และจัดตั้งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติในมหามงคลวโรกาสที่        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  ทรงครองสิริราชสมบัติครบรอบ 50 ปี โดยจัดการเรียนการสอนทางไกลผ่านดาวเทียม    ถ่ายทอดสดหลักสูตรประถมศึกษา มัธยมศึกษา และสายวิชาชีพให้แก่โรงเรียนในสังกัดกรมสามัญศึกษา รวมทั้งการออกอากาศรายการภาคภาษาอังกฤษทางช่อง 81-95 (UBC) โดยสามารถรับชมได้ดังนี้
1. ระบบ DSTV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านจานรับสัญญาณดาวเทียม ในย่านความถี่ KU-Band ที่เป็นระบบเดียวกับ ทรูวิชั่นส์ ซึ่งสามารถซื้อ ชุดรับสัญญาณดาวเทียม กับตัวแทนจำหน่ายของ ทรูวิชั่นส์ ได้ทั่วไป โดยไม่เสียค่าบริการรายเดือน โดยมีราคาประมาณชุดละ 12,000 บาท หรือหากมีเครื่องรับสัญญาณดาวเทียม ที่สามารถรับย่าน KU-Band ได้ ก็สามารถรับชมได้ เพราะระบบออกอากาศของสถานีฯ มิได้มีการเข้ารหัสไว้ จึงไม่ต้องใช้ Smart Card ในการรับชมรายการ
2. ระบบ CATV เป็นระบบโทรทัศน์ผ่านสายเคเบิล ซี่งสามารถรับชมได้ ในเขตกรุงเทพมหานคร และจังหวัดปริมณฑล แต่สามารถรับชมรายการได้เพียง 7 ช่อง และต้องเสียค่าบริการรายเดือน กับบริษัทเคเบิลทีวีที่ให้บริการ
3. ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายในด้านเนื้อหาวิชา (Free-of-charge Web-based Information Content) ทั้งในระบบรายการถ่ายทอดสด (Live Broadcast) และระบบรายการตามคำสั่ง (On Demand) ทางเว็บไซต์ของ มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม และ สถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม

ประโยชน์ของการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม
              1. ช่วยแก้ปัญหาในพื้นที่ชนบทที่ขาดแคลนครู
              2. เปิดโอกาสทางการศึกษาให้กับนักเรียนทุกคนได้รับการศึกษาที่เท่าเทียมกัน โดยเรียนรู้ผ่านการถ่ายทอดสดผ่านดาวเทียม