วันอาทิตย์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2555

แหล่งการเรียนรู้ จัตุรัสวิทยาศาสตร์ อพวช.

เต่าทำไมจึงอายุยืน


     เต่าขี้เหม็นแค่ไหน  

             เต่าออกนอกกกระดองได้หรือไม่

 


                               หาคำตอบได้ในนิทรรศการ "เต่า"

                นิทรรศการเต่า จัดแสดงโดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แงชาติ (อพวช.) ณ จุตรัสวิทยาศาสตร์ อพวช. ชั้น 4 จามจุรีสแควร์ สามย่าน กรุงเทพมหานคร จัดแสดงตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2555 เป็นต้นไป (จะมีนิทรรศการต่าง ๆ จัดเปลี่ยนหมุนเวียนกันไป)

 


การเดินทาง

                รถไฟฟ้าใต้ดิน : สถานีสามย่าน

                รถประจำทางสาย 4, 16, 21, 25, 29, 34, 36, 40, 45, 47, 50, 67, 93, 113, 141, 163, 172, 501


                                  แผ่นที่ เดินทางไปจามจุรีสแควร์


ลักษณะการนำเสนอสื่อ

1.             โปสเตอร์

2.             แผ่นพับ

3.             ตัวอย่างของจริง

4.             รูปแบบจำลอง

5.             จิ๊กซอร์เต่า ดูว่าเต่าเป็นเพศผู้หรือเพศเมีย


                                               จิ๊กซอร์เต่า

                นิทรรศการต่า ได้จัดแสดงข้อมูลต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเต่าไว้ดังนี้

 


เต่าต้วมเตี้ยหรือเปล่า

                เต่าจะถูกมองว่าเชื่องช้า ถึงจะเดินไม่เร็วนัก แต่ก็เดินได้ไกล การที่มันเดินช้า มันต้องแบกน้ำหนักด้านบน ทำให้ต้องเดินด้วยความระมัดระวัง เต่าหลบศัตรูและสิ่งอันตราย ด้วยการหยุดเดินและหดหัวเข้าไปในกระดอง ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ป้องกันตัวเอง

                เต่าทะเลบางชนิดว่ายน้ำได้ไกลและด้วยความเร็ว โดยเต่าที่ว่ายน้ำเร็วที่สุด คือเต่ามะเฟือง ความเร็วเฉลี่ยสูงสุด 35.28 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

                เต่าที่เดินช้าที่สุด คือ เต่าบกยักษ์กาลาปากอส ความเร็วเฉลี่ยสูงสุด 0.13 – 0.8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

 

ทำไมเต่าอายุยืน

                เต่าเป็นสัตว์เลื้อยคลานที่มีลักษณะโบราณ เกิดก่อนไดโนเสาร์และสามารถดำรงเผ่าพันธุ์จนถึงปัจจุบัน กลไกในร่างกายของเต่า ทำให้เซลล์ทำงานน้อยลง เข้าสู่ความชราช้าลง และมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี เต่าอดอาหารได้นาน ซึ่งลดการเผาผลาญสารอาหารในร่างกาย ลดระดับอัตราการหายใจ และเคลื่อนที่ช้า ทำให้ร่ายกายใช้พลังงานสะสมในร่างกายได้นาน ในสภาวะขาดออกซิเจน เลือดจะมีสภาพเป็นกรด แต่เต่ามีกลไกป้องกันการทำลายเซลล์ร่างกายจากความเป็นกรดของเลือด จึงทำให้ทนต่อสภาพขาดออกซิเจนได้ดี ในเลือดของเต่ามีสารต้านจุลินทรีย์ ป้องกันการติดเชื้อเมื่อเกิดบาดแผล

                การสืบพันธุ์เป็นฤดูกาล โดยเพศเมียสามารถเก็บสเปิร์มไว้ผสมกับไข่ภายหลัง โดยไม่ต้องจับคู่ผสมพันธุ์อีก ซึ่งรักษาพลังงานของร่างกายได้


ทำไมเต่ามีกระดอง

                กระดองเป็นอวัยวะสำคัญและเป็นลักษณะที่ทำให้เต่าแตกต่างไปจากสัตว์เลื้อยคลานกลุ่มอื่น เป็นโครงสร้างค้ำจุนร่างกาย ป้องกันอวัยวะภายใน และอันตรายจากสิ่งมีชีวิต

                กระดองเริ่มปรากฏตั้งแต่อยู่ในไข่ และพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นกระดองที่สมบูรณ์ มีลักษณะแตกต่างกันไปตามชนิดของเต่า

 

เต่ามีกระดองหลังโค้งเท่านั้นหรือไม่

                เต่ามีกระดองหลังโค้งมากน้อยต่างกันไป เต่าบกมีกระดองหลังโค้งรูปโดม ยกเว้นเต่าแพนเค้กมีกระดอกแบน เพื่ออาศัยอยู่ในซอกหิน และซ่อนตัวอยู่ในรู เต่าน้ำจืดมีกระดองโค้งน้อย เพื่อให้เคลื่อนที่ในน้ำได้ดี ยกเว้นเต่าหับที่มีนิสัยสะเทินน้ำสะเทินบก

 


 เต่าเพศผู้หรือเพศเมีย  

                เต่าเพศเมีย ขนาดตัวใหญ่และมีน้ำหนักมากกว่าเพศผู้ กระดองท้องแบนราบ รูขับถ่ายอยู่ประมาณขอบกระดอง

                เต่าเพศผู้ กระดองท้องเว้ารับกับความโค้งของกระดองหลังส่วนท้ายของเพศเมีย ช่วยให้ง่ายต่อการผสมพันธุ์ รูขับถ่ายค่อนมาทางปลาย

                คนถูกกำหนดเพศโดยพันธุกรรม แต่ปัจจัยหลักที่กำหนดเพศของเต่าคือ อุณหภูมิ เมื่อไข่ถูกฟักในอุณหภูมิสูง ลูกเต่าส่วนใหญ่จะเป็นเพศเมีย และไข่ทีฟักในอุณหภูมิต่ำ ลูกเต่าส่วนใหญ่จะเป็นเพศผู้

                ปัจจุบันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศมีแนวโน้มส่งผลให้อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ถึงแม้จะยังไม่มีรายงานว่ามีผลต่อการกำหนดเพศของเต่าในสภาพธรรมชาติ แต่อุณหภูมิเป็นปัจจัยหลักที่กำหนดเพศของลูกเต่า จึงมีความเป็นไปได้ว่าอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้นอาจนำไปสู่การเกิดเพศเดียวในเต่า และนำไปสู่การสูญพันธุ์ในอนาคต

                                          เต่าเพศผู้ท้องเว้า

                                         เต่าเพศเมีย ท้องแบนราบ




เต่าขี้เหม็นแค่ไหน
               มูลเต่านั้นเหม็นมาก เนื่องจากปฏิกิริยาของแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่ ที่ช่วยสลายอาหาร ทำให้เกิดการหมักและกลิ่นที่รุนแรง เต่าจึงป้องกันตัวเองจากศัตรู โดนการปล่อยมูลที่มีกลิ่นเหม็นมาก เมื่อถูกจับตัวจะถ่ายออกมาทันที

ขี้เต่า

 เต่าสายพันธ์ต่าง ๆ


        เต่าแก้มแดง หรือเต่าญี่ปุ่น



                   เต่าน้ำจืดที่มีสีสันสวยงามโดนเฉพาะเมื่อยังมีขนาดเล็ก กระดองสีเขียวและมีลายเส้นสีเหลือง สีดำ บริเวณหลังตามีแถบตามยาวสีแดง เมื่อโตเต็มที่มีความยาวกระดองประมาณ 28 เซนติเมตร พบในอเมริกาเหนือ อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำจืดที่มีน้ำนิ่งและมีพืชน้ำขึ้นหนาแน่น กินทั้งสัตว์และพืชรวมทั้งซากพืชซากสัตว์เป็นอาหาร จัดเป็นชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่รุกรานในประเทศไทยและหลายประเทศ

เต่าแก้มแดง

 


        เต่ามาตามาต้า

                                             เต่ามาตามาต้า


                    เต่าน้ำจืดที่มีคอยาว กระดองและส่วนหัวลักษณะแปลกประหลาดคล้ายใบไม้แห้ง กระดองมีสีน้ำตาลส้มหรือน้ำตาลดำ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวกระดองประมาณ 45 เซนติเมตร อาศัยในบริเวณที่ตื้นของแหล่งน้ำที่น้ำไหลช้าหรือน้ำนิ่ง กินปลาและสัตว์ไม่มีกระดูกสัตว์หลังขนาดเล็กที่ยังมีชีวิตเป็นอาหาร

 

         เต่าคองู

                เต่าน้ำจืดที่มีคอยาวมากลักษณะคล้ายงู กระดองมีลักษณะคล้ายรูปไข่ มีสีน้ำตาลเข้มหรือดำ เมื่อโตเต็มที่มีความยาวกระดองประมาณ 27 เซนติเมตร พบในทวีปออสเตรเลีย อาศัยในบริเวณที่ตื้นของแม่น้ำและลำธารที่น้ำไหลช้า กินสัตว์หลายชนิดเป็นอาหาร

                                                   เต่าคองู


 

การนำแหล่งเรียนรู้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน

                สำหรับนิทรรศการเรื่องเต่า สามารถในไปประกอบการเรียนการสอบวิชาชีววิทยาได้หลายเรื่อง เช่น ทำไมเต่าต้องมีกระดอง สามารถอธิบายได้ในเรื่องการรักษาสมดุลของสิ่งมีชีวิต ลักษณะจำเพาะของสิ่งมีชีวิต และความหลากหลายของสิ่งมีชีวิต การที่นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่อยู่ใกล้ตัว จะทำให้การเรียนรู้นั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น และเป็นความรู้ที่ยั่งยืน